
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ประเภทและการรักษาที่คุณควรรู้
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ประเภทและการรักษาที่คุณควรรู้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หมายถึงโรคที่หัวใจมีความบกพร่องบางอย่างติดตัวมาตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า โรคนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีกหลายประเภทด้วยกัน บทความในวันนี้เราได้รวบรวม ประเภทของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด พร้อมวิธีรักษา มาฝากทุกคนแล้วค่ะ
ประเภทของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ทั้ง 6 ประเภท
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นชื่อที่ใช้เรียกรวมอาการความผิดปกติแต่กำเนิดที่เกิดขึ้นกับหัวใจทั้งหมด โดยเราสามารถแบ่ง ประเภทของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ออกได้เป็น 6 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1.ลิ้นหัวใจตีบ
โรคลิ้นหัวใจตีบ เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด มีสาเหตุมาจากการที่หลอดเลือดแดงหลักบริเวณลิ้นหัวใจตีบหรือแคบลง จนส่งผลต่อการสูบฉีดเลือดของหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานหนักขึ้น และตีบแคบลงในที่สุด
วิธีรักษา แพทย์อาจใช้วิธีการทำบอลลูนหัวใจ เพื่อขยายหลอดเลือดบริเวณลิ้นหัวใจ โดยใส่ท่อเล็ก ๆ เข้าไปในหลอดเลือด แล้วทำการขยายบอลลูนให้พองขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดขยายตัว เป็นวิธีที่แพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้ แต่หากวิธีนี้ยังไม่เป็นผล แพทย์ก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจแทน
2.หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ (COA)
ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ เป็นอีกหนึ่งประเภทของ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด พบได้ในทารกเพศชายมากกว่าเพศหญิงเกือบ 2 เท่า มีอาการหลัก ๆ คือหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบตัวลง และปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากโครโมโซม หรือความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดกันมาในครอบครัว
วิธีรักษา แพทย์อาจใช้วิธีการผ่าตัดนำหลอดเลือดส่วนที่ตีบออก แล้วเชื่อมต่อหลอดเลือดส่วนที่เหลือเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด หรืออาจจะใช้วิธีการทำบอลลูนหัวใจก็ได้เช่นกัน

3.ความผิดปกติแบบเอ็บสไตน์ (Ebstein anomaly)
สภาวะนี้เรียกได้ว่าเป็นประเภทที่หายากของ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีสาเหตุมาจากการที่ลิ้นหัวใจในตำแหน่งหัวใจห้องขวาบนกับขวาล่างผิดรูป จนส่งผลให้มีการไหลเวียนเลือดผิดทิศทาง
วิธีรักษา สำหรับในกรณีที่ความผิดปกติแบบเอ็บสไตน์ไม่รุนแรง แพทย์อาจใช้ยาควบคุมอัตราการเต้นของจังหวะหัวใจ แต่สำหรับกรณีรุนแรงอาจต้องรับการผ่าตัด เพื่อซ่อมแซมปิดส่วนที่รั่วไหลของเลือด ให้กลับสู่ระบบการไหลเวียนเลือดที่ถูกต้อง
4.หลอดเลือดหัวใจเกิน (PDA)
ภาวะนี้เป็นอีกหนึ่งประเภทของ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีอาการหลัก ๆ คือมีหลอดเลือดหัวใจเกินออกมาจากปกติ และเชื่อมต่อกับหลอดเลือดที่เข้าสู่ปอด สามารถพบได้ในทารกก่อนคลอดและหลังคลอด โดยปกติหลอดเลือดที่เกินมานี้จะหดตัวลงไปเองหลังจากคลอด ภายใน 2-3 วัน แต่หากอาการไม่หายไป อาจทำให้การไหลเวียนของเลือดเข้าสู่ปอดมากเกินไป และส่วนผลเสียต่อความดันปอดและสุขภาพหัวใจได้
วิธีรักษา เมื่อแพทย์วินิจฉัยจนแน่ใจว่าเด็กมีสภาวะนี้ ก็อาจให้ใช้ยาอย่าง อินโดเมทาซิน (Indomethacin) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดของทารกปิดตัวเอง แต่หากเด็กไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์ก็อาจใช้วิธีการผ่าตัดแทน

5.หัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว (TOF)
ภาวะนี้เป็น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ประเภทหนึ่ง มีอาการคือห้องหัวใจทั้ง 4 มีความผิดปกติ ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังปอดลดลง จนทำให้ระดับของออกซิเจนในเลือดที่ส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายต่ำเกินไป และทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิวหนัง ริมฝีปาก เล็บเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว ฟ้า และม่วงขึ้น
วิธีรักษา หากมีอาการรุนแรง แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ทารกได้รับการผ่าตัดในทันทีหลังคลอด โดยใช้ท่อขนาดเล็กที่เรียกว่า Shunt เป็นตัวช่วย แต่หากวินิจฉัยแล้วมีอาการคงที่ ก็อาจรอไปผ่าตัดเมื่อทารกมีอายุ 4-6 เดือน
6.ข้อบกพร่องผนังกั้นของหัวใจห้องบน (ASD)
สภาวะนี้คืออีกหนึ่งประเภทของ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีอาการคือเกิดช่องหรือรูเล็ก ๆ บนผนังกั้นหัวใจห้องบน ส่งผลให้เลือดที่มีออกซิเจนไหลกลับเข้าสู่ห้องหัวใจด้านขวา แล้วปะปนกับเลือดที่ส่งเข้าสู่ปอดเพื่อทำการฟอกเลือด
วิธีรักษา ในการรักษาข้อบกพร่องของผนังกั้นหัวใจ แพทย์อาจใช้เทคนิคสวนหัวใจด้วยท่อขนาดเล็กเข้าไปทางเส้นเลือดที่ขา และนำวัสดุพิเศษเข้าไปปิดกั้นรูผนังกั้นที่รั่วอยู่ สำหรับกรณีที่รูบนผนังกั้นมีขนาดค่อนข้างกว้าง แพทย์อาจต้องใช้วิธีการการผ่าตัด เพื่อเย็บปิดรูผนังกั้นหัวใจด้วยวัสดุพิเศษทางการแพทย์
วิธีป้องกันการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ ดังนั้นหนทางในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ จึงอยู่ที่การดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเข้ารับการเช็กสุขภาพตามการนัดหมายของแพทย์ รับฟังคำแนะนำ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์จนกว่าจะครบกำหนดคลอด นอกจากนี้ยังควรเลือกรับประทานอาหารตามโภชนาการที่เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อให้สุขภาพลูกน้อยแข็งแรง และห่างไกลจาก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
7 วิธีดูแลสุขภาพ ให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ไม่ป่วยง่าย
วิธีดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของเรา เพื่อสุขภาพที่ดี และได้อยู่กับคบที่เรารักไปนานๆ ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่าความร่ำรวยเงินทองคือ บ่อเกิดของความสุข แต่คุณจะมีความสุขกับเงินที่หามาได้อย่างไร หากสุขภาพของเรานั้น ไม่เอื้ออำนวย ต้องเข้าโรงพยาบาลไปพบหมอมากกว่า ที่จะได้เดินทางไปแหล่งท่องเที่ยว สุขภาพจึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องให้ความสำคัญทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ซึ่งก็สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
บทความแนะนำ :: Praepaasaa